วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557

Big Data คืออะไร?


Big Data

         Big data เป็นคำที่มาพร้อมๆ กับการเฟื่องฟูของสังคมออนไลน์ (Social Media) ที่นำมาโดยเฟชบุ๊ค Facebook อย่างไรก็ดีคำว่า “Big Data” สามารถเชื่อมโยงไปถึงระบบการประมวลผลข้อมูลประเภทนี้ ซึ่งเป็นอะไรที่ค่อนข้างใหม่และแตกต่างไปจากเทคโนโลยีเดิมที่มีใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

                Big Data คือ ปริมาณข้อมูลที่มีขนาดใหญ่มหาศาลเกินกว่าความสามารถในการประมวลผลของระบบฐานข้อมูลธรรมดาจะรองรับได้ ปริมาณของข้อมูลที่มีขนาดใหญ่มากๆ จะมีอัตราเพิ่มขึ้นของข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็วมาก และเป็นรูปแบบที่ไม่มีโครงสร้าง (Unstructured) ซึ่งไม่สามารถจัดการด้วยเครื่องมือที่มีอยู่หรือเครื่องมือแบบเดิมๆ ได้อีกต่อไป

                ในปัจจุบันรูปแบบข้อมูลต่างๆ เปลี่ยนไปจากเดิม จากรูปแบบข้อความธรรมดา (Text) เริ่มเปลี่ยนเป็นรูปแบบไฟล์ Media มากขึ้น เช่น ไฟล์เพลง, ภาพยนตร์, คลิปวีดีโอ และอื่นๆ โดยที่อัตราการเพิ่มขึ้นของข้อมูลนั้น เพิ่มขึ้นถึง 10 เท่า ทุกๆ 5 ปี คิดเป็น 85% ของข้อมูลทั้งหมด

            ตัวอย่างข้อมูล Big Data
o   ข้อมูลเครือข่ายสังคม (Social Media)
o   ข้อมูลการบริการทางเว็บ (Web Server Log)
o   ข้อมูลจากอุปกรณ์ตรวจตราทางจราจร (Traffic Flow Sensors)
o   ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม (Satellite Imagery)
o   ข้อมูลด้านการกระจายเสียง (Broadcast Audio Streams)
o   ข้อมูลธุรกรรมทางธนาคาร (Banking Transaction)
o   ข้อมูลด้านการตลาดการเงิน (Financial Market Data)
o   ข้อมูลการสื่อสารจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Telemetry from Automobiles)

คุณลักษณะที่สำคัญ 3 ประการของ Big Data คือ
o   Volume คือข้อมูลมหาศาลขนาดใหญ่
o   Variety ข้อมูลที่มีความหลากหลายทั้งที่เป็นแบบโครงสร้างและรูปแบบที่ไม่แน่นอน
o   Velocity ข้อมูลที่จะต้องวิเคราะห์เข้าสู่ระบบฐานข้อมูลอย่างรวดเร็ว โดยให้ความสำคัญกับข้อมูลที่เป็น Real-time

ความจำเป็นของ Big Data ต่อธุรกิจ
การทำงานขององค์กรต่างๆ จะได้รับผลกระทบจากเทคโนโลยี Big Data ทำให้เกิดข้อมูลที่มีปริมาณมากมายมหาศาล จากการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารต่างๆ ทำให้ข้อมูลมีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและตลอดเวลา

องค์กรต่างๆ สามารถนำข้อมูลนั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างมากมาย เช่น
·         สร้างมูลค่าทางธุรกิจ โดยนำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อหาความต้องการของสินค้า หรือบริการในรูปแบบใหม่ๆ ให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้
·         นำข้อมูลมาช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ เป็นการสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันในตลาด
·         นำข้อมูลมาช่วยประเมินระยะเวลา ประเมินงบประมาณค่าใช้จ่ายของการทำโครงการใหม่ๆ ให้ใกล้เคียงกับการปฏิบัติงานจริง รวมทั้งช่วยแก้ปัญหาหรือป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น
·         ช่วยในการวิเคราะห์เพื่อนำไปวางแผนการตลาด แผนการส่งเสริมการจัดจำหน่าย การวางแผนเชิงรุกของการทำงานในอนาคต
·         ช่วยทำให้ผู้บริโภคสามารถรู้และเข้าใจข้อมูลสินค้าและการบริการ ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกที่ดีที่สุดและทันต่อเหตุการณ์

ข้อมูล Big Data จะแตกต่างกันในแง่ของการให้บริการทางธุรกิจ เช่น
·         ระบบ ATM (Automatic Teller Machine) ในธุรกิจธนาคารและสถาบันการเงิน
·         ระบบ CDR (Call Detail Records) สำหรับธุรกิจโทรคมนาคม
·         ระบบควบคุมการผลิต (Shop Floor Control) สำหรับธุรกิจทางด้านอิเล็กทรอนิกส์
·         ระบบ Smart Metering สำหรับธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน (ไฟฟ้า น้ำประปา) เป็นต้น

ความท้าทายคือ ผู้ประกอบการจะสามารถหาประโยชน์หรือคุณค่าที่ซ่อนอยู่ ด้วยวิธีการประมวลผลข้อมูลกลุ่มนี้ได้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพเพียงใด เพื่อรับรู้สถานการณ์ป้องกันปัญหา แก้ปัญหาให้ทันท่วงที นอกจากจะหวังผลในคุณค่าของข้อมูลที่ซ่อนอยู่แล้วการประมวลผลต้องมีความรวดเร็วตั้งแต่ระดับวันต่อวัน ชั่วโมงต่อชั่วโมง หรือวินาทีต่อวินาทีเลยทีเดียว

จะเห็นว่าข้อมูลมหาศาลขององค์กรที่มีอยู่สามารถที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมากมายตามลักษณะของประเภทธุรกิจ การเชื่อมต่อออนไลน์ และระบบการจัดเก็บข้อมูลบนเทคโนโลยีคราวน์ คอมพิวติ้ง จะเป็นส่วนสนับสนุนในการเก็บข้อมูลของธุรกิจได้อย่างปลอดภัยเพื่อการนำไปใช้ในอนาคตได้



ภาพจาก http://www.designinfographics.com





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น